การขึ้นบัญชีและยกเลิกบัญชีผู้ได้รับการคัดเลือกลูกจ้างชั่วคราวเงินนอกงบประมาณ(รายวัน) ตำแหน่ง เจ้าหนักงานพัสดุ และ พนักงานช่วยเหลือคนไข้

รายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้ารับการคัดเลือก และกำหนดวัน เวลา สถานที่คัดเลือก ลูกจ้างชั่วคราวเงินนอกงบประมาณ (รายวัน) ตำแหน่ง เจ้าพนักงานพัสดุและพนักงานช่วยเหลือคนไข้

รับสมัครบุคคลเพื่อคัดเลือกเป็นลูกจ้างชั่วคราว (เจ้าพนักงานพัสดุ,พนักงานช่วยเหลือคนไข้)

 

ต้อนรับคณะศึกษาดูงานยาเสพติดจากจังหวัดอุตรดิตถ์

วันที่ 23 สิงหาคม 2562 เวลา 9.00 – 12.00 น. โรงพยาบาลกงไกรลาศ ได้ต้อนรับคณะศึกษาดูงานยาเสพติดจากจังหวัดอุตรดิตถ์ นำทีมโดยนายสุรศักดิ์ วงศ์ตั้ง ป้องกันจังหวัดอุตรดิตถ์ มีการนำเสนอผลการดำเนินงานโดยนางอักษร ผ่ามะนาว พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ และนายวีรพันธ์ มีหนู นักจิตวิทยา พร้อมทั้งได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้การแก้ไขปัญหายาเสพติดร่วมกันระหว่างทีมจังหวัดอุตรดิตถ์ และทีมอำเภอกงไกรลาศ

 

รับมอบอุปกรณ์ทางการแพทย์จากชมรมศิษย์บ้านแสงแห่งธรรม

โรงพยาบาลขอขอบพระคุณ ชมรมศิษย์บ้านแสงแห่งธรรม ได้กรุณามอบอุปกรณ์ทางการแพทย์ ได้แก่ เครื่องกระตุกหัวใจอัตโนมัติ (AED) จำนวน 1 เครื่อง, เครื่องตรวจสุขภาพทารกในครรภ์ จำนวน 1 เครื่อง, เครื่องควบคุมการให้สารละลายทางหลอดเลือด จำนวน 3 เครื่อง, เครื่องติดตามการทำงานของร่างกาย จำนวน 1 เครื่อง โรงพยาบาลกงไกรลาศ จึงขอขอบพระคุณและซาบซึ้งในความอนุเคราะห์ของท่านเป็นอย่างสูง

 


 

 

 

 

 

 

 

กิจกรรมสานสัมพันธ์ความรักความสามัคคี

วันที่ 3 กรกฎาคม 2562 คณะกรรมการพัฒนาบุคลากร (HBD) โรงพยาบาลกงไกรลาศ ได้จัดกิจกรรมสานสัมพันธ์ความรักความสามัคคีปี 2562 ขึ้น เพื่อให้เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานมีความรักความผูกพันธ์องค์กร เกิดความสามัคคี นำไปสู่ค่านิยม MOPH ของกระทรวงสาธารณสุข โดยมี นพ.กฤษณะ แก้วมูล ผู้อำนวยการโรงพยาบาล เป็นประธานในพิธีเปิด และมีเจ้าหน้าที่มาร่วมกิจกรรมกว่า 100 คน

โรคหูดับ

“โรคหูดับ” (Sudden Hearing Loss SHL) คือการได้ยินเสียงน้อยลงหรือไม่ได้ยินเสียงเลย อาจเป็นข้างเดียวหรือสองข้างก็ได้ ถือเป็นภาวะสูญเสียการได้ยินอย่างกะทันหัน

โรคหูดับ หมายถึง ระดับการได้ยินลดลงมากกว่า 70 เดซิเบล เป็นเวลานานเกินกว่า 72 ชั่วโมง แต่อาการจะปรากฏเด่นชัดในช่วง 2 – 3 ชั่วโมแรก รุนแรงมากน้อยต่างกัน และระดับเสียงที่ไม่ได้ยินอาจเป็นระดับเสียงที่ความดังเท่าใดก็ได้ อาการของโรคหูดับอาจเป็นเพียงแค่ชั่วคราวหรือเกิดขี้นได้อย่างถาวร

อาการของโรค

ผู้ป่วยหนึ่งในสามมักจะมีอาการหูดับในช่วงเช้า โดยเฉพาะหลังตื่นนอนใหม่ ๆ และมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น ปวดศีรษะ เวียนหัว อาเจียน บ้านหมุน และมีเสียงดังในหูร่วมด้วย

สาเหตุ

1. โรคหูดับ หรือเส้นประสาทหูเสื่อม สาเหตุเกิดจากเชื้อไวรัสบางชนิด ซึ่งพบมากถึงร้อยละ 60 โดยสามารถตรวจพบการเปลี่ยนแปลงทางน้ำเหลืองในปฏิบัติการ ไวรัสที่เป็นสาเหตุได้แก่ ไวรัสไข้หวัดใหญ่ (Influenza type B) ซัยโตเมกาโลไวรัส (CMV) ไวรัสคางทูม (mumps) รูบิโอลา (rubeola) ไวรัสสุกใส – งูสวัด (varicella – zoster) ซึ่งไวรัสเหล่านี้จะไปทำให้หูชั้นในอักเสบได้

2. โรคหูดับเกิดจากการรับประทานอาหารสุก ๆ ดิบ ๆ ที่มีเชื้อแบคทีเรีย สเตร็พค็อกคัสซูอิส ปนเปื้อนอยู่ เช่น ลาบดิบ ก๋วยเตี๋ยวน้ำตกที่ปรุงโดยใช้เลือดดิบ เป็นต้น

3. โรคหูดับเกิดจากการได้ยินเสียงดังมาก ๆ ในทันที เช่น เสียงระเบิด เสียงฟ้าผ่า นอกจากนี้ ผู้ป่วยบางรายเป็นโรคหูดับเพราะความเครียด ไม่ได้นอนพักผ่อนอย่างเพียงพอ อดหลับอดนอนเพราะโหมงานหนักมากเกินไป ก็เป็นสาเหตุให้เกิดโรคหูดับได้เช่นกัน

4. โรคหูดับเกิดจากการผิดปกติของเลือด เป็นโรคหลอดเลือด เช่น ความดันสูง การไหลเวียนกระแสโลหิตบกพร่อง หลอดเลือดอักเสบหรืออุดตัน การติดเชื้อไวรัสแบคทีเรีย การฉีกขาดของเยื่อปิดหน้าต่างของหูชั้นในซึ่งเกิดจากการไอ จามรุนแรง การผ่าตัดหู หรือความผิดปกติทางฮอร์โมนและต่อมไร้ท่อ เช่น โรคไทรอยด์ จากการผิดปกติของการเผาผลาญ เช่น โรคเบาหวาน รวมทั้งการได้รับแรงกระทบกระแทกของศีรษะ เป็นต้น

นอกจากนี้ยังมี “โรคหูดับเฉียบพลัน” (Sudden Sensorineural Hearing Loss) ที่อยู่ ๆ ผู้ป่วยเกิดไม่ได้ยินเสียงขึ้นมาเฉย ๆ จนหูดับไปจนเกือบไม่ได้ยินเลยในเวลาไม่เกิน 3 วัน ซึ่งอาการหูดับเฉียบพลันนี้  อาจเกิดจากเนื้องอกของประสาทสมองที่ 8 กดทับเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงหูชั้นใน

การป้องกัน

การป้องกันโรคหูดับที่ดีที่สุดคือ ไม่รับประทานอาหารที่ปรุงสุก ๆ ดิบ ๆ เพื่อไม่ให้เชื้อ “สเตร็พโตค็อกคัส ซูอิส” เข้าสู่ร่างกายได้ รวมทั้งหลีกเลี่ยงเสียงดัง เช่น ไม่ควรเปิดเพลงจากเครื่องเล่น MP3 ในระดับเสียงที่ดังจนเกินไป หรือฟังเป็นระยะเวลานานติดต่อกัน และควรหลีกเลี่ยงสถานที่หรือสภาวะแวดล้อมที่มีเสียงดังมากๆ